Change Language :

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ข้อมูลและสถิติ

บทความ/มุมมอง

นโยบาย

สิทธิและกฎหมาย

ทำงานกับมูลนิธิฯ

งานด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร

 

โครงการอบรมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นภารกิจหลักของมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ที่จะดำเนินการให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรเหล่านี้ให้มีความเข้าใจในบริบทของผู้หญิงที่เผชิญกับปัญหาการละเมิดทางเพศ ปัญหาทางครอบครัวและแสวงหาการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย มีทักษะทางการแพทย์ในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและปลอดภัย รวมทั้งรู้จักการให้บริการที่เป็นมิตรและได้มาตรฐาน แนะแนวทางเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในอนาคต

 

ในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน อุปสรรคสำคัญหลักที่ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่สามารถเข้าถึงบริการการยุติการตั้งครรภที่มีคุณภาพ และการช่วยเหลือจากการถูกทำร้ายและความรุนแรงทางเพศในครอบครัว คือทัศนคติของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้ และจำนวนแพทย์สูตินารีเวชที่จบออกมามีจำนวนไม่เพียงพอที่จะสามารถให้บริการที่ครอบคลุม ทั้งเรื่องภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ ประเทศไทยมีประชากรผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี) อยู่ประมาณประมาณ 16 ล้านคน หรือมีสัดส่วนประมาณ หนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศ (64 ล้านคน) และมีจำนวนแพทย์สูตินารีเวชอยู่ประมาณ 1,900 คน จากจำนวนแพทย์ทั้งหมด 28,000 ที่จบออกมาทำงาน หากคิดเป็นสัดส่วนแพทย์สูตินารีเวชต่อประชากรผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ก็คือ 1: 19,600 กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดเดียวที่มีจำนวนแพทย์สูตินารีเวชอยู่มากที่สุด

 

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการอบรมแพทย์ทั่วไปตามโรงพยาบาลของรัฐให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการให้บริการเหล่านี้เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงและนักวิชาการทางการแพทย์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น มิเช่นนั้นแล้วการแก้ไขปัญหาจะไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและกระจายอย่างทั่วถึง

 

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีปัญหาการทำแท้งและได้รับความรุนแรงทางเพศเช่นถูกข่มขืนมายังถูกมองไปในทางไม่ดี ได้รับการรังเกียจ และถูกพูดจาด้วยคำพูดที่ไม่ดีหากมาขอรับบริการในเรื่องนี้โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น หญิงด้อยโอกาส มีฐานะยากจน การศึกษาน้อย และเป็นกลุ่มด้อยทางสังคมและกฎหมาย

 

กิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วเมื่อปี 2552 ถึงปี 2553 มีดังนี้

  1. จัดกิจกรรมปรับปรุงหลักสูตรและคู่มือการอบรมเรื่องการให้บริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยอิงกับคู่มือขององค์การอนามัยโลก ในการพัฒนาเทคนิคทางการแพทย์และข้อเสนอแนะ ในเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการทางสุขภาพที่เน้นการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
  2. จัดอบรมวิทยากรหลักที่คัดเลือกจากแพทย์สูตินารีเวชจากโรงเรียนแพทย ์และโรงพยาบาลศูนย์จากสี่ภูมิภาคของประเทศไทย
  3. จัดการอบรมให้แพทย์ทั่วไป สูตินารีแพทย์ และพยาบาล จำนวนทั้งหมด 262 คน จากทั้งหมด 120 โรงพยาบาลในระดับจังหวัดและระดับอำเภอโดยกระจายไปทั่วทั้ง สี่ ภาคของประเทศ โดยการอบรมจะเน้นเรื่องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า MVA (Manual Vacuum Aspirator) ที่สามารถป้องกันมดลูกทะลุ และการใช้ยา Misfepristone และ Misoprostol ในการช่วยการยุติการตั้งครรภ์ด้วย นอกจากนี้ยังได้ขยายการอบรมไปยังกลุ่มนักศึกษาแพทย์ ที่กำลังจะจบการศึกษาและแพทย์ประจำบ้านฝึกหัดจำนวน 210 คน
 

ข่าวสาร กิจกรรม

 

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 2

เรื่องการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 22-25 มกราคม 2556
สถานที่กรุงเทพมหานคร

จัดอบรมแพทย์และพยาบาล

เรื่องการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและการใช้ Manual Vacuum Aspiration (MVA) เดือน กุมภาพันธ์ 2554

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 1

เรื่องสุขภาพผู้หญิงและการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 20-23 มกราคม 2553

 

 
 

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) สอส.
โทรศัพท์ :
0-2575-0500-1   |   โทรสาร :0-2575-0501  |   อีเมล์ : info@womenhealth.or.th
ที่อยู่ :48/38 เดอะพาราไดซ์ ถนนแจ้งวัฒนะซอย 14 หลักสี่ กรุงเทพ 10210

Copyright © 2010 สอส แห่งประเทศไทย. All Rights Reserved.