Change Language :

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ข้อมูลและสถิติ

บทความ/มุมมอง

นโยบาย

สิทธิและกฎหมาย

ทำงานกับมูลนิธิฯ

สิทธิและกฎหมายเกี่ยวกับการแท้งที่ปลอดภัย

 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของการประชุมครั้งสำคัญๆ ของโลกและได้ร่วมลงนามในสัตยาบันของแผนปฏิบัติการในการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development- ICPD) ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในปี พ.ศ. 2534 และ การประชุมสตรีโลกที่กรุงปักกิ่งในปี พ.ศ. 2538 และร่วมรับรองเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) ในการประชุมขององค์การสหประชาชาติ ซึ่ง MDG ข้อที่ 5 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์และลดการตายของมารดา (ระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด) ลง 3 ใน 4 ภายในปี 2558 รวมทั้งได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Form of Discrimination Against Women-CEDAW) ซึ่งในทุกๆ การประชุมที่กล่าวมานั้นต่างก็เน้นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ ของสตรีรวมทั้งสิทธิและการเท่าเทียมของสตรี โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ซึ่งสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีนี้หมายรวมถึงสิทธิในการมีชีวิตที่มีคุณภาพ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการศึกษา การได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานการ ได้รับความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ มีอิสระทางความคิด มีสิทธิในการรอดพ้นจากการถูกเลือกปฏิบัติ มีสิทธิในการที่จะเลือกแต่งงานหรือวางแผนครอบครัวอย่างมีอิสระ มีสิทธิในการที่จะตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ มีเมื่อไหร่และมีเท่าใด มีการกล่าวถึงกรณีที่การทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย ในแผนการปฏิบัติข้อหนึ่งของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา โดยระบุว่าระบบบริการสาธารณสุขควรจัดให้มีการอบรม.ให้ความรู้ รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการให้บริการและมีมาตรการที่มั่นใจได้ว่าการทำแท้งนั้นต้องปลอดภัยและเข้าถึงได้ รวมถึงการจัดให้มีมาตรการอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการที่จะคุ้มครองสุขภาพและชีวิตของสตรีด้วย ในประเทศไทยกฎหมายเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการแท้งที่ไม่ปลอดภัย

 

กฎหมายอาญามาตรา 305 ของประเทศไทย ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500 ได้ยกเว้นความผิดฐานทำแท้งไว้ 2 ประการ กล่าวคืออนุญาตให้ "แพทย์" ทำแท้งได้เมื่อ "จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น" หรือ "เมื่อหญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดทางเพศ มาตรา ๒๗๖, ๒๗๗, ๒๘๒, ๒๘๓, ๒๘๔ (ถูกข่มขืนหรือกระทำชำเรา)" จะเห็นได้ว่าการทำแท้งในประเทศไทยไม่ผิดกฎหมายหากกระทำโดย "แพทย์" และตามเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้ว แต่คนไทยเกือบทั้งหมดรวมทั้งแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์การสาธารณสุข หรือแม้แต่ผู้รักษากฎหมายส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่าการทำแท้งในประเทศไทยไม่สามารถทำได้เลยหรือเข้าใจว่าทำได้เฉพาะเพื่อ "สุขภาพกาย" ของหญิงตั้งครรภ์

 

การป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและภาวะแทรกซ้อน เป็นหนึ่งใน 10 องค์ประกอบ งานอนามัยการเจริญพันธุ์โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพราะการตายของหญิงวัยเจริญพันธุ์จากการแท้งที่ไม่ปลอดภัย เป็นปัจจัยทำให้อัตราป่วยและตายของมารดาขณะตั้งครรภ์ของประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงอยู่

 

นอกจากนี้แพทยสภาได้กำหนดให้มีข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการ แพทย์ตามมาตรา305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548 ซึ่งข้อบังคับนี้ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 เพื่อเป็นแนวทางให้แพทย์ยึดถือปฏิบัติ โดยได้กำหนดความหมายของ คำว่า "สุขภาพ" ในกฎหมาย 305 ให้ครอบคลุมทั้งสุขภาพกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก และอนุญาตให้แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ได้ในกรณีหญิงตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพด้านร่างกายหรือจิตใจ รวมทั้งกรณีที่หญิงตั้งครรภ์เกิดความเครียดเมื่อพบว่าทารกในครรภ์มีปัญหาสุขภาพ มีโรคพันธุกรรมหรือมีความพิการทางร่างกายหรือสติปัญญา และอนุญาตให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ในสถานพยาบาลและคลินิกที่ไม่มีเตียงได้ถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ส่วนอายุครรภ์ที่มากขึ้นให้กระทำ ในสถานพยาบาลที่มีเตียงเพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของหญิงเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงสิทธิในการได้รับบริการ สิทธิในการตัดสินใจของผู้หญิง มาตรฐานบริการ จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ และ สิทธิในการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายของผู้ให้บริการด้วย

 

สรุปแล้วจะเห็นว่าผู้หญิงไทยทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น และสามารถสอบถามบริการนี้ได้จากโรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านหรือสอบถามมายังทางมูลนิธิฯเพื่อขอข้อมูลและคำแนะนำ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม (Links)

  1. บทความเรื่องสิทธิและกฎหมายของการทำแท้ง ของนายแพทย์ ธนพันธ์ ชูบุญ และรายละเอียดของกฎหมายอาญามาตรา 301-305
  2. http://gotoknow.org/blog/writen-by-drpae/112069
  3. กฎหมายคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ เรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน
    http://info.thaihealth.or.th/media/knowledge/12594
  4. ครม เห็นชอบผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองนามัยการเจริญพันธุ์
  5. ข้อบังคับแพทยสภาฯ
    4.1 ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์,

    4.2 จะแก้กฎหมายทำแท้งอย่างไรดี

    4.3 ความเป็นมาของกฎหมาย 305

    4.4 แพทยสภาเสนอแก้กฎหมายทำแท้ง

    4.5 ดันกฎหมายลงโทษชายกรณีทำแท้ง

บล็อคแสดงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้

Commenting System

Add a Comment

 

ข่าวสาร กิจกรรม

 

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 2

เรื่องการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 22-25 มกราคม 2556
สถานที่กรุงเทพมหานคร

จัดอบรมแพทย์และพยาบาล

เรื่องการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและการใช้ Manual Vacuum Aspiration (MVA) เดือน กุมภาพันธ์ 2554

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 1

เรื่องสุขภาพผู้หญิงและการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 20-23 มกราคม 2553

 

 
 

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) สอส.
โทรศัพท์ :
0-2575-0500-1   |   โทรสาร :0-2575-0501  |   อีเมล์ : info@womenhealth.or.th
ที่อยู่ :48/38 เดอะพาราไดซ์ ถนนแจ้งวัฒนะซอย 14 หลักสี่ กรุงเทพ 10210

Copyright © 2010 สอส แห่งประเทศไทย. All Rights Reserved.